วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ท่านรองนายก อบต.กระเทียม เดินทางมาเยี่ยม



อบต.ขอนแตก จัดให้...





ผู้บริหาร , นายช่างและผู้รับเหมา เอาใจใส่ด้วยการลงพื้นที่ตรวจงาน ควบคุมการเทพื้นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ.ทางเข้าวัดป่าพรหมจักร

สาธุ...สาธุ...สาธุ...กับบุญกุศลที่ได้ร่วมกันสร้าง






บรรยากาศในค่ำคืน วันมาฆบูชา


  

สาธุชนเริ่มการเวียนเทียน





พระอาจารย์คำสิงห์ พุทธิสาโร นำญาติธรรมเวียนเทียนรอบหลวงพ่อรวย ภายในวัดป่าพรหมจักร

คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล



คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา        นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี       สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต    ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

สพฺพปาปสฺส อกรณํ    กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ        เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อนูปวาโท อนูปฆาโต   ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ  ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค      เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อภิญญา 6

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่งหมายถึง ปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
  1. อิทธิวิธิ หมายถึง แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้ เป็นต้น
  2. ทิพพโสต หมายถึง มีหูทิพย์
  3. เจโตปริยญาณ หมายถึง กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
  4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ หมายถึง ระลึกชาติได้
  5. ทิพพจักขุ หมายถึง มีตาทิพย์
  6. อาสวักขยญาณ หมายถึง รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมเวียนเทียนวันมาฆบูชา



มาฆบูชาปี 2556 หลวงปู่บุญมา เตชปัญโญ เมตตานำญาติโยมสวดมนต์เพื่อระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันมาฆบูชา ในภาษาบาลีอ่านว่า มาฆปูชาและ มาฆบูชาย่อมาจาก มาฆปูรณมีบูชาซึ่งหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเ นื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ
1.               พระสงฆ์สาวก จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
2.               พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาคือ ผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
3.               พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรง อภิญญา 6
4.               วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณ มีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้น จึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาตหรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
ปัจจุบัน วันมาฆบูชา ได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทาน โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
สำหรับในปี พ.ศ. 2556 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ
การเตรียมตัวก่อนประกอบพิธีเวียนเทียน ในวันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ
1.               อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน
2.               แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่
3.               เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ตลอดจนเครื่องบูชาให้เรียบร้อย
4.               เมื่อถึงวัดแล้วควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยหยอกล้อ วิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมอันไม่เหมาะสม
 ความหมายการเวียนเทียน วันมาฆบูชา
  • เวียนเทียน รอบที่ 1 : รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาบท อิติปิโส ภะคะวาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ
  • เวียนเทียน รอบที่ 2 : รำลึกถึงคุณพระธรรม ภาวนาบทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
  • เวียนเทียน รอบที่ 3 : รำลึกคุณพระสงฆ์ ภาวนาบทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ ระหว่างนั้นต้องทำจิตใจให้สงบ แน่วแน่กับบทบูชา






วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตั้งเสากันไปด้วยความมุ่งมั่น









ชาวบ้านขอนทองพัฒนาทุกคน ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยตั้งเสาศาลาหลังแรกกันแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทุกๆคนมาด้วยใจจริงๆ สาธุ...สาธุ...สาธุ...

งานหนักเป็นงานของผู้ชาย ส่วนผู้หญิง...



ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

หลวงปู่บุญมา ท่านควบคุมการก่อสร้างเองทุกขั้นตอน

เสาศาลาหลังแรก อีกชุด





อีกมุมของเสาเอก