วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล



คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา        นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี       สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต    ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

สพฺพปาปสฺส อกรณํ    กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ        เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อนูปวาโท อนูปฆาโต   ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ  ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค      เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อภิญญา 6

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่งหมายถึง ปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
  1. อิทธิวิธิ หมายถึง แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้ เป็นต้น
  2. ทิพพโสต หมายถึง มีหูทิพย์
  3. เจโตปริยญาณ หมายถึง กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
  4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ หมายถึง ระลึกชาติได้
  5. ทิพพจักขุ หมายถึง มีตาทิพย์
  6. อาสวักขยญาณ หมายถึง รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น